การแบ่งชั้นทนแรงดันของวาล์ว (Pressure Classes)
ในการออกแบบวาล์วเพื่อใช้งานในระบบท่อปัจจัยที่ต้องคำนึงคืออุณหภูมิและความดันที่วาล์วสามารถทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย สำหรับความดันภายในตัวเรือนวาล์วที่วาล์วสามารถทนได้จนถึงจุดหนึ่งโดยวาล์วยังคงทำหน้าที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้นเราเรียกว่า “Valve’s Pressure Rate” ดังนั้นยิ่งมีค่า Pressure Rate สูง ยิ่งทนแรงดันได้สูงแต่ขณะเดียวกันผนังวาล์วก็ต้องหนาขึ้นไปด้วยเพื่อให้วาล์วสามารถรองรับการติดตั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในตัวเรือนวาล์วให้ทนแรงดันดังกล่าวได้และเป็นสิ่งที่แน่นอนว่าอุณภูมิภายในวาล์วเองก็มีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการรองรับแรงดัน Pressure Rate ของวาล์วดังกล่าวด้วยเช่นกัน นั้นคือของไหลในระบบท่อยิ่งมีอุณหภูมิสูงมากขึ้นยิ่งส่งผลให้วาล์วรองรับความดันน้อยลง ดังตัวอย่างกราฟความสัมพันธ์ของการทนแรงดันของวาล์วที่ทำด้วย Carbon steel เมื่ออุณหภูมิของไหลเปลี่ยนไปในแต่ละชั้นทนแรงดันของวาล์ว แสดงไว้ในรูปที่ 1 ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจถึง Pressure Class Rating กับ Pressure Rating มีความสำคัญในการทำงานของเราอย่างไร
- Standard Classificationมาตรฐานชั้นทนความดันของไหล (Pressure Class) เป็นไปตาม ANSI B16.34 ซึ่งแบ่ง Pressure Class ออกเป็น 6 Standard Class คือ Pressure Class 150, 300, 600, 900, 1500 และ 2500 (ดูรูปที่ 2 และ รูปที่ 3) ซึ่งชั้นทนแรงดันดังกล่าวใช้ได้กับข้อต่อวาล์วทั้งแบบเกลียว (NPT Threaded), หน้าแปลน (Flange), Socketweld และ Buttweld End Connection ในงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมายสำหรับน้ำมันสำเร็จรูประบบท่อส่วนใหญ่เป็น Pressure Class 150 ส่วนระบบท่อก๊าซปิโตเลียมเหลว (LPG) ระบบท่อส่วนใหญ่เป็น Pressure Class 300 และ 600
2. Special Classification เมื่อติดตั้งวาล์วในระบบท่อที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูง ประกอบกับเป็นไปตามข้อกำหนดผ่านการทดสอบแบบไม่ทำลาย (Nondestructive Examination; NDT) เช่น X-ray แนวเชื่อม 100% บริเวณแนวเชื่อมข้อต่อแบบ Buttweld End Connectionของวาล์วเข้ากับระบบท่อแล้ว ตามเอกสาร ANSI B16.34 ยอมให้วาล์วดังกล่าวยกชั้นทนแรงดันเป็น Pressure Special Class 150, 300, 600, 900, 1500, 2500 และ 4500 ได้ ส่วนรายละเอียดเราต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเองหากต้องการรู้
Credit : cbwmthai.org