6 สิ่งสำคัญ เพิ่มอายุการทำงานเครื่องอัดอากาศสำหรับหายใจ (Breathing Air)

เครื่องอัดอากาศแรงดันสูงที่ใช้งานสำหรับอากาศหายใจ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีถึงจะได้มีอายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น

 1. สายพาน

– สายพานต้องมีความการยืดหยุ่น ประมาณ 10 มิลลิเมตร ถ้าสังเกตุว่ามีการแตกร้าว ควรเปลี่ยนทันที

2. น้ำมันเครื่อง

– สังเกตจากช่องดูน้ำมันเครื่องหรือก้านวัดน้ำมัน น้ำมันต้องอยู่ระดับกลางช่อง  จะต้องไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป หากระดับน้ำมันลดลงไปควรเติมน้ำมันเพิ่มให้อยู่ในระดับโดยจำเป็นต้องใช้น้ำมันรหัสเดียวกันกับที่ใช้งานอยู่ห้ามเติมน้ำมันชนิดอื่นหรือคนละรหัสผสมกันโดยเด็ดขาด
เปลี่ยนถ่ายทุก 1 ปี หรือทุก 500 ชั่วโมงสำหรับ Mineral Oil
เปลี่ยนถ่ายทุก 2 ปี หรือทุก 1,000 ชั่วโมงสำหรับ Synthetic oil

 3. กรองอากาศขาเข้า

– ควรนำออกมาเป่าทำความสะอาดทุก 2 เดือน หรือเปลี่ยนทุกๆ 1 ปีพร้อมๆกับการเปลี่ยนอะไหล่ชุดบำรุงรักษาชุด A

4. กรองอากาศขาออก

– ควรเปลี่ยนตามตารางชั่วโมงการใช้งานของแต่ละเครื่องและต้องดูวันหมดอายุที่ตัวกระบอกไส้กรองร่วมด้วย โดยปกติไส้กรองอากาศนี้จะมีอายุไม่เกิน 2 ปีนับจากวันที่ผลิต ไม่ควรใช้ไส้กรองที่หมดอายุเนื่องจากมีผลต่อคุณภาพอากาศที่ต้องนำไปใช้สำหรับหายใจ

5. มอเตอร์และจุดต่อสายไฟ

– อย่าให้มอเตอร์โดนน้ำและความชื้น ส่วนจุดต่อสายไฟต่างๆต้องตรวจดูว่ายึดติดแน่นหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการ spark ในระหว่างที่มอเตอร์ทำงาน

 6. ถังเก็บลม

– ถังเก็บลม ควรมีการตรวจเช็คการการรับแรงดันทุก 3 ปี และตรวจเช็คการขยายตัวของวัสดุทุกๆ 5 ปี สำหรับถังประเภทคอมโพสิตจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 15 ปี

การบำรุงรักษา

1.   ทุก ๆ วัน

  • ตรวจเช็คระดับน้ำมันหล่อลื่น  ต้องอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตกำหนด
  • ปล่อยน้ำทิ้งออกจากระบบแยกน้ำหรือวาล์วเดรน
  • เมื่อหยุดใช้งานประจำวันต้องปิดวาล์วจ่ายลม และปิด Main  Switch

2.   ทุก ๆ สัปดาห์

  • ทำความสะอาดมอเตอร์ใบพัด  ครีบระบายความร้อนที่ท่อทางเดินของอากาศและเสี้อสูบ 
  • ถอดและทำความสะอาด
  • ตรวจสอบรอยรั่วตามจุดข้อต่อต่าง ๆ  และตามรอยประเก็น
  • ตรวจสอบการทำงานของวาล์วนิรภัย(Safety  Value)  โดยการสังเกตว่ามีลมรั่วที่รูระบายของวาล์วนิรภัยหรือไม่ ตรวจสอบความตึงของสายพาน
  • ตรวจสอบและขันน็อตตามจุดต่าง ๆให้แน่น  

3.   ทุก ๆ 1 ปี  หรือ 500 ชั่วโมงการทำงาน

  • เปลี่ยนอะไหล่ชุดซ่อมบำรุงตามตารางบำรุงรักษาโดยอะไหล่จะแบ่งออกเป็นชุดต่างๆดังนี้
    -อะไหล่ชุด A จะเป็นชุดโอริงและไส้กรองน้ำมัน
    -อะไหล่ชุด B จะเป็นชุดวาล์วของแต่ละสูบและชุดลูกสูบสุดท้าย
    -อะไหล่ชุด C จะเป็นชุดปะเก็นเสื้อสูบ
    โดยรอบการเปลี่ยนอะไหล่ในแต่ละปีจะเป็นดังนี้
    ปีที่ 1 เปลี่ยนชุด A
    ปีที่ 2 เปลี่ยนชุด A+B
    ปีที่ 3 เปลี่ยนชุด A
    ปีที่ 4 เปลี่ยนชุด A+B+C

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top